1. อาหารควรหลีกเลี่ยง
- อาหารที่มีปริมาณคาร์โบไฮเดรตสูง เช่น ข้าวเหนียว ทุเรียน ลำไย
- อาหารที่มีปริมาณพิวรีนหรือกรดยูริกสูง เช่น เนื้อสัตว์ปีก เครื่องในสัตว์ หอย ปลาอินทรีย์ ปลาซาดีน ปลาขนาดเล็ก ถั่วทุกชนิด เห็ด กะปิ ยีสต์ ของหมักดอง หน่อไม้ ยอดผักและผักที่มีกลิ่นแรง เช่น ชะอม กระถิน เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
2. อิริยาบถไม่ถูกต้อง
แก้ไขโดยจัดสมดุลให้ร่างกายอยู่ในลักษณะที่เสียเปรียบเชิงกลน้อยสุดโดยใบหู หัวไหล่ ปมกระดูก อยู่ในแนวเส้นดิ่งเดียวกันในท่านั่ง และอยู่ในแนวเส้นเดียวกับจุดกลางด้านข้างข้อเข่าในท่ายืน
3. การออกกำลังกาย
การออกกำลังกายเพื่อกล้ามเนื้อผ่อนคลายควรเป็นการออกกำลังกายด้วย การว่ายน้ำหรือโยคะ การออกกำลังกายที่ไม่ควรทำ คือ ออกกำลังกายประเภท Anaerobic Exercise ซึ่งเป็นการออกกำลังแบบกลั้นหายใจช่วย เช่น ยกน้ำหนัก เทนนิส แบดมินตัน กอล์ฟ
การออกกำลังกายสามารถแบ่งช่วงได้ การออกกำลังกาย วันละ 30 นาที หรือ 10 นาที 3 ครั้ง/วัน ไม่แตกต่างกัน
4. การแช่น้ำอุ่นเพื่อลดการอักเสบ
นำฝ่าเท้าข้างที่เป็นแช่ในน้ำอุ่น ให้น้ำเลยข้อขึ้นไป แช่นานประมาณ 30 นาที ทำทุกวัน
แต่ถ้ามีอาการปวดตึงบริเวณน่องขึ้นไป ร่วมด้วย ให้ระดับน้ำสูงถึงระดับน่องโดยใช้ถังน้ำทรงสูง
การแช่น้ำอุ่นควรทำหลังจากยืดกล้ามเนื้อเสร็จ
5.การยืดกล้ามเนื้อ
การยืดกล้ามเนื้อตามมัดกล้ามเนื้อควรทำอย่างช้าๆ ให้รู้สึกตึง เจ็บเล็กน้อยไม่มากเกินไป ให้อยู่ในภาวะผ่อนคลายและจัดท่าทางให้มั่นคง กล้ามเนื้อมัดหนึ่งควรยึดค้าง 20 – 30 วินาที ทำชุดละ 5 – 10 ครั้ง วันละ 2 ชุดเป็นอย่างต่ำ ไม่จำกัดจำนวนชุด สามารถทำได้ทันทีที่มีอาการปวดเมื่อย
การยืดกล้ามเนื้อน่องและเอ็นร้อยหวาย
การยืดเอ็นฝ่าเท้า