วันจันทร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2558

ปวดส้นเท้าจัง..เวลาตื่นนอน?(1)

สวัสดีครับ บทความแรก ว่าด้วย ปวดๆเมื่อยๆ วันนี้ขอเสนอ อาการปวดส้นเท้า

ลักษณะอาการของโรค 
    ปวดส้นเท้าโดยเฉพาะเวลาตื่นนอนตอนเช้า เวลาเดินจะเจ็บที่ส้นเท้า เมื่อเดินไปสักพักอาการปวดจะทุเลา บางกรณีจะเจ็บปวดตลอดทั้งวัน เวลาเดินจะเดินกะเผลก บางครั้งอาจมีอาการปวดร้าวไปที่ขอบเท้าและเอ็นร้อนหวาย
โรคนี้ก็คือ โรคผังผืดส้นเท้าอักเสบ (Plantar fasciitis)
โดยทางแพทย์แผนไทยเรียกว่า โรคลมปลายปัตคาตส้นเท้า หรือที่รู้จักกันทั่วไปก็คือ รองช้ำ ครับ

สาเหตุ 
   ภาระเกินกำลังเอ็นส้นเท้า 
    มี 2 ปัจจัย คือ น้ำหนักและเวลา ทำให้เอ็นฝ่าเท้ารับน้ำหนักมากเกินไปจนอักเสบ พบได้บ่อยในคนที่มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นหรือมีน้ำหนักตัวมาก หรือคนที่ใช้งานฝ่าเท้าเป็นเวลานานไม่ว่า ยืน เดิน หรือขับรถ ซึ่งส่วนมากจะทำงานด้วยลักษณะดังกล่าวตลอดทั้งวัน

   สภาพของเลือด 
     ในคนไม่มีการไหลเวียนระบบโลหิตไม่สมบูรณ์ จะเกิดการแข็งตัวของเลือด คั่งและอั้นของเลือดที่บริเวณส้นเท้า ส่งผลให้เกิดพังผืดรัดที่ส้นเท้าและมีหินปูนตกตะกอนและเกาะได้ เช่น ผู้มีภาวะเลือดข้นในทางแพทย์แผนไทย ผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ป่วยโรคข้ออักเสบ

   อุบัติเหตุ
     การออกกำลังกายที่เพิ่มขึ้น หรือเกิดการกระทบกระเทือนบริเวณเอ็นข้อเท้าจากการวิ่งบนพื้นผิวที่แข็ง
สวมใส่รองเท้าที่ไม่เหมาะสม เช่น รองเท้าที่ส้นมีลักษณะแข็งมากเกินไป

   ปัจจัยทางด้านโครงสร้าง
     เช่น กระดูกข้อเท้าเสื่อม เท้าแบนมากเกินไป อุ้งเท้าโก่งมากเกินไป กล้ามเนื้อบริเวณน่องแข็งเกร็งมากเกินไป หรือภาวะส้นเท้ายาวไม่ยาวเท่ากันซึ่งบางกรณีสามารถนวดรักษาแก้ไขได้

การรักษาในแนวทางแพทย์แผนไทย
     1.การนวดรักษาร่วมกับกายภาพบำบัด นวดรักษานั้นใช้ระยะเวลา 1 -3 course ส่วนกายภาพบำบัดใช้ระยะเวลา 2 สัปดาห์ขึ้นไป
     2.การปรับพฤติกรรมทั้งทางด้านการยืน การเดิน ในทางที่ถูกต้อง และหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารก่อโรค

     และจากประสบการณ์ของหมอเอง การทานยาต้านการอักเสบ หรือฉีดสเตียรอยด์ มักช่วยได้ไม่มากนักเพราะสาเหตุส่วนใหญ่มากจากพฤติกรรม ถ้าไม่ปรับพฤติกรรมสาเหตุของโรคก็ไม่หายไป โดยเฉพาะคนที่เคยรักษาจนหายแล้ว ในทางแพทย์ไทยจะเรียกบริเวณที่มีปัญหาว่า "รอยโรค" ซึ่งมีโอกาสกลับมาเป็นอีก ดังนั้นสิ่งสำคัญที่สุดคือ ปรับพฤิติกรรมและการดูแลตัวเองน่ะครับ

"หมอใดไหนเลยจะเทียบเท่าตัวท่านเอง"

ในตอนหน้า เราจะมาคุยกันเรื่องการดูแลตนเองของโรครองช้ำต่อนะครับ





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น