วันอังคารที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2559

ปวดศีรษะจากไซนัสอักเสบกับการดูแล


ปวดศีรษะจากไซนัสอักเสบ Sinus headaches

     ไซนัสอักเสบจะมีอาการปวดหน่วงๆ ตามจุดไซนัส เช่น หน้าผาก หัวตา โหนกแก้ม หรือรอบๆ กระบอกตา ถ้าเอานิ้วกดหรือ เคาะแรงๆ ตรงไซนัสที่อักเสบก็จะเจ็บ
  • ปวดศีรษะ อาการปวดมักเป็นมากในตอนเช้าหรือบ่าย และเวลาก้มศีรษะ หรือเปลี่ยนท่า
  • ผู้ป่วยจะมีน้ำมูกเป็นหนองข้นสีเหลืองหรือสีเขียว น้ำมูกจะไหลลงคอ หรือเวลาสูดจมูกแรงๆ จะมีหนองไหลลงหลังคอ
  • คัดจมูก และมีน้ำมูกไหล น้ำมูกไหลลงคอ มีการคัดแน่นจมูกหรือหายใจมีกลิ่นเหม็นคาว
  • มีอาการ ปวดหู หูอื้อ เนื่องจากการอุดตันของท่อยูสเตเชี่ยนทำให้ความดันในไซนัสสูงกว่า
ตำแหน่งที่ปวดศีรษะจะขึ้นกับว่าไซนัสบริเวณไหนอักเสบ

     - ไซนัสส่วนที่เรียกว่า Frontal sinusitis ซึ่งอยู่บริเวณหน้าผาก- จะมีอาการปวดศีรษะบริเวณหัวคิ้ว
     - ไซนัส Maxillary sinusitis ซึ่งอยู่บริเวณโหนกแก้ม- จะปวดศีรษะบริเวณแก้ม ฟันบน และบริเวณขา                 กรรไกรซึ่งอาจจะเข้าใจผิดว่าปวดฟัน
     - ไซนัสบริเวณ Ethmoid sinusitis - จะปวดศีรษะบริเวณรอบตา และข้างจมูก
     - ไซนัสบริเวณ Sphenoid sinusitis -จะปวดบริเวณรอบตาอาจจะมีอาการปวดหู

     เมื่อไซนัสเกิดการอักเสบสามารถทำให้เกิดอาการปวดศีรษะได้ โดยจมีะอาการตัวร้อนร่วมด้วย
การรักษาส่วนมากคือตามอาการโดยใช้ยาปฏิชีวนะหรือยาลดการอักเสบ

ไม่ควรซื้อยาทานเอง ควรให้แพทย์ตรวจและจ่ายยาให้เหมาะสมกับผู้ป่วย

การดูแลตนเองเมื่อเป็นไซนัสอักเสบ
   - นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ อย่านอนดึก เกิน 22.00 น.
   - อยู่ในที่อากาศถ่ายเทสะดวก ไม่มีฝุ่นละออง ไม่มีเกสรดอกไม้
   - หลีกเลี่ยงควันและกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์
   - ไม่ดำน้ำ ไม่ว่ายน้ำ หรือกระโดดน้ำ ขนาดเป็นไซนัสอักเสบ

ปวดศีรษะคลัสเตอร์กับการดูแล


ปวดศีรษะคลัสเตอร์ Cluster headaches
       สาเหตุยังไม่ทราบเป็นที่แน่ชัด แต่การรักษาอย่างถูกวิธีสามารถลดระยะเวลาและความถี่ได้
การรักษาที่ได้ผลดีที่สุด คือ การสูดดมออกซิเจนผ่านทางหน้ากากหรือยาแก้ปวดศีรษะกลุ่ม Triptan เป็นต้น

ปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดการปวดศีรษะคลัสเตอร์
การดื่มแอลกอฮอล์ การออกกำลังกายอย่างหนัก อุณหภูมิแวดล้อมสูง กลิ่นที่รุนแรง การสูบบุหรี่

การดูแลสุขภาพอย่างออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ นวดคลายกล้ามเนื้อต้นคอและขมับ หลีกเลี่ยงการใช้สายตาหนัก นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่ดื่มแอลกอฮอร์ สามารถป้องกันและลดความถี่ของการปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์ได้

ส่วนการกายภาพด้วยตนเองแบ่งเป็น 2 ส่วนใหญ่ คือการยึดหรือนวด  และการประคบร้อน

1.การนวดกล้ามเนื้อต้นคอด้วยตนเอง
ให้ใช้มือประสานกันแล้ววางไว้บริเวณต้นคอใช้นิ้วหัวแม่มือทั้งสองข้างกดกล้ามเนื้อต้นคอจากบนลงล่าง โดยกดจุดค้างจุดละ 10-30 วินาที


2.การประคบร้อน
การประคบสามารถใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำร้อนหรือกระเป๋าน้ำร้อนก็ได้  โดยใช้ระยะเวลาประมาณ 20 - 45 นาที ระดับไม่ควรร้อนมากจนเกินไป ให้ร้อนพอทนได้


วันพุธที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2559

ปวดศีรษะจากความเครียดกับการดูแล

ปวดศีรษะจากความเครียด  Tension headaches

      สำหรับใครมีไม่ต้องการทานยาเพื่อลดอาการปวดศีรษะลองฟังทางนี้ครับ
เนื่องอาการปวดศีรษะประเภทนี้ เกิดจากความเครียดสะสมทำให้กล้ามเนื้อบริเวณขมับ ศีรษะ บ่า ไหล่มีการหดตัวเกร็ง อาการปวดกล้ามเนื้อส่วนมากมักเกิดจากของเสียคั่งค้างจากการเกร็งของกล้ามเนื้อ ทำให้โลหิตนำของเสียไปกำจัดไม่ได้ เช่น กรดแลคติก เป็นต้น

      การดูแลที่ดีที่สุดคือการลดความเครียด    ซึ่งเป็นต้นเหตุของปัญหา ต้องแก้ไขความเครียดให้ได้ พักผ่อนให้เพียงพอ นอนหลับให้สนิท ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เลี้ยงสัตว์ หรือหางานอดิเรกทำ การนั่งสมาธิเป็นอีกทางเลือกนึงที่ได้ผลดี

ส่วนการกายภาพด้วยตนเองแบ่งเป็น 2 ส่วนใหญ่ คือการยึดหรือนวด  และการประคบร้อน

1.การยึดกล้ามเนื้อ
การยืดกล้ามเนื้อควรทำอย่างช้าๆ ให้รู้สึกตึง เจ็บเล็กน้อยไม่มากเกินไป ให้อยู่ในภาวะผ่อนคลายและจัดท่าทางให้มั่นคง ท่าหนึ่งงควรยึดค้าง 20 –30 วินาที ทำชุดละ 5 – 10 ครั้ง วันละ 2 ชุดเป็นอย่างต่ำ ไม่จำกัดจำนวนชุด

ควรทำอย่างน้อย 2 สัปดาห์ ควบคู่กับการประคบร้อนไปด้วย



2.การประคบร้อน
การประคบสามารถใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำร้อนหรือกระเป๋าน้ำร้อนก็ได้  โดยใช้ระยะเวลาประมาณ 20 - 45 นาที ระดับไม่ควรร้อนมากจนเกินไป ให้ร้อนพอทนได้  การยืดกล้ามเนื้อร่วมกับการประคบร้อนจะช่วยให้กล้ามเนื้อคลายและโลหิตจะไหลเวียนได้สะดวกยิ่งขึ้น  ส่งผลให้ของเสียต่างนำไปกำจัดได้ดีขึ้น อาการปวดต่างๆจึงหายไป



วันอังคารที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2559

ปวดศีรษะจัง ....เอ? ปวดแบบไหนเนี่ย




มันเป็นเรื่องที่สำคัญมากที่รู้ว่าเราปวดหัวศีรษะแบบไหนเพื่อที่จะหาวิธีดูแลตนเองได้อย่างตรงจุด
วันนี้เรามาดูว่าปวดศีรษะ มีแบบใดบ้าง


1.ปวดศีรษะจากความเครียด Tension headaches 


     เป็นแบบที่พบได้บ่อยสุด โดยจะรู้สึกปวดคงที่เป็นจุดๆหรือเหมือนโดนกดรอบศีรษะ โดยเฉพาะบริเวณกำด้น(บริเวณส่วนท้ายของศีรษะ)หรือต้นคอโดยไม่รุนแรงแบบไมเกรน ไม่ถึงขั้นคลื่นไส้ และไม่กระทบกับชีวิตประจำวันมากนัก


     สาเหตุส่วนใหญ่มากจากความตึงของต้นคอและหนังศีรษะอันเนื่องมาจากความเครียด
เบื้องต้นสามารถทาน Aspirin, Ibuprofen หรือ Paracetamol เพื่อลดอาการได้


2.ปวดศีรษะคลัสเตอร์ Cluster headaches


     ส่วนใหญ่พบในผู้ชาย โดยจะปวดซ้ำๆเป็นกลุ่มหรือเป็นวงกลม มีลักษณะจำเพาะโดยจะรู้ปวดแบบอ่อนเพลียเปลี้ยๆข้างนึงของศีรษะ บ่อยครั้งมีอาการร่วมด้วยกับน้ำมูกน้ำตาไหลในข้างเดียวกันระหว่างเป็นจะรู้สึกกระสับกระส่าย รู้สึกไม่สบายตัว นอนก็ไม่หาย บางคนจะมีอาการปวดไมเกรนตามมาติดๆ 

สาเหตุยังไม่ทราบเป็นที่แน่ชัด แต่การรักษาอย่างถูกวิธีสามารถลดระยะเวลาและความถี่ได้


3.ปวดศีรษะจากไซนัสอักเสบ Sinus headaches


     เมื่อไซนัสเกิดการอักเสบสามารถทำให้เกิดอาการปวดศีรษะได้ โดยจะอาการตัวร้อนร่วมด้วย
การรักษาส่วนมากคือตามอาการโดยใช้ยาปฏิชีวนะหรือยาลดการอักเสบ


4.ปวดศีรษะจากใช้ยาเกิน Rebound headaches


     การใช้ยาแก้ปวดศีรษะมากเกินไปจะส่งผลให้เกิดการปวดศีรษะแบบนี้
โดยเฉพาะจำพวก Aspirin, Ibuprofen หรือ Paracetamol
ทางทฤษฏีเมื่อสมองได้รับยาจำนวนมาก จะเข้าสู่สภาวะกระตุ้น ซึ่งจะทำให้ปวดหัวมากยิ่งขึ้น
อีกทางนึงที่ส่งผลต่อการปวดศีรษะคือการหยุดยา ทำให้ระดับยาในกระแสเลือดลดลง


5.ปวดศีรษะไมเกรน Migraine headaches


     ไมเกรนสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ และสามารถตัวสอบด้วยตนเองได้ดังนี้


- เคยเป็นมาอย่างน้อย 5 ช่วงเวลา
- ภายในเวลาระหว่าง 4 - 72 ชั่วโมง

- มีอย่างน้อย 2 อาการตามดังนี้
: ปวดข้างเดียว, ปวดตุบ, ปวดปานกลางจนถึงรุนแรง, การปวดเป็นอุปสรรคต่อชีวิตประจำวัน


     มีอาการร่วมอย่างน้อยหนึ่งอย่างดังนี้
: คลื่นไส้หรืออาเจียน, ความรู้สึกไวต่อแสง, ความรู้สึกไวต่อเสียง, ความรู้สึกไวต่อกลิ่น


ไมเกรนบางครั้งอาจมีอาการบอกเหตุก่อน เช่น มองเห็นแสงวิบวับ หรือภาพบิดเบี้ยว หรือ ชามือ ชานิ้ว

ในบทความต่อไปเราจะมาพูดถึงการดูแลตนเองต่อการปวดศีรษะแบบต่างๆ สวัสดีครับ

เที่ยวมากเป็นเหตุ....ปวดเข่าจังเลย!!

ปวดเข่าเป็นโรคยอดฮิตของใครๆหลายคน โดยเฉพาะหลังเทศกาลท่องเที่ยวอย่างปีใหม่ ถ้าใครเดินเที่ยวมาก แถมเดินความสูงต่างระดับเยอะๆ กลับมาหลังจากท่องเที่ยวอาจมีอาการเจ็บเข่าไปตามๆกัน

อาการเจ็บเข่าเนื่องจากใช้กล้ามเนื้อต้นขาเกินกำลัง มีวิธีดูแลง่าย ดังนี้เลยคร
ับ

1.พัก
หลังบาดเจ็บใหม่ๆ ควรพักอย่างน้อย 24 ชม. ไม่ใช้งานเข่ามากเกินไป

2.การประคบเพื่อลดการอักเสบ
ถ้ากรณีบาดเจ็บ ภายใน 24 ชม. แรกให้ประคบด้วยความเย็นเพื่อยับยั้งการอักเสบไม่ให้มากขึ้น
หลัง 24 ชม. ผ่านไปแล้วให้ประคบร้อนเพื่อให้เลือดไหลเวียนได้สะดวก กระตุ้นให้เลือดนำสารอาหารมาฟื้นฟูและนำของเสียไปทิ้งได้ไวยิ่งขึ้น

3.การยืดกล้ามเนื้อ

การยืดกล้ามเนื้อตามมัดกล้ามเนื้อควรทำอย่างช้าๆ ให้รู้สึกตึง เจ็บเล็กน้อยไม่มากเกินไป ให้อยู่ในภาวะผ่อนคลายและจัดท่าทางให้มั่นคง กล้ามเนื้อมัดหนึ่งควรยึดค้าง 20 –30 วินาที ทำชุดละ 5 – 10 ครั้ง วันละ 2 ชุดเป็นอย่างต่ำ ไม่จำกัดจำนวนชุด

ควรทำอย่างน้อย 2 สัปดาห์ ควบคู่กับการประคบร้อนไปด้วย