วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

รองช้ำกับการดูแล

     โรคพังผืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบหรือรองช้ำ (plantar fasciitis)


สาเหตุ  
     1.กระดูกงอกทิ่มเอ็น
     2.ไขมันบริเวณส้นเท้าฝ่อตัว ทำให้กระดูกทิ่มเอ็น
     3.การกระแทกตกจากที่สูงทำให้เนื้อช้ำ
     4.น้ำหนักตัวมากเกินไป
     5.การรับน้ำหนักเป็นเวลาจากจากการทำงาน
     6.สวมใส่รองเท้าที่ไม่เหมาะสมกับโครงสร้างของเท้า

อาการ
     1.ปวดตึงส้นเท้าอาจลามมาบริเวณเอ็นร้อยหวาย และขอบส้นเท้า
     2.ยืนเดิน รับน้ำหนักไม่ค่อยไหว ส่วนมากเป็นตอนตื่นนอนตอนเช้า พอก้าวเหยียบพื้นแล้วเจ็บ เวลานอนอากาศเย็นเลือดไหลเวียนไม่ดี แคลเซียมมาเกาะกล้ามเนื้อทำให้ยืดหยุ่นไม่ดีก็เจ็บ เมื่อเคลื่อนไหวจะเจ็บน้อยลง
     3.อาจปวดได้ตลอดเวลา
     4.เกิดจากการอักเสบบริเวณส้นเท้าจากการเล่นกีฬาหรือตกกระแทกจากที่สูง

การดูแลด้วยตนเอง
     1.การยึดกล้ามเนื้อ
การยืดกล้ามเนื้อควรทำอย่างช้าๆ ให้รู้สึกตึง เจ็บเล็กน้อยไม่มากเกินไป ให้อยู่ในภาวะผ่อนคลายและจัดท่าทางให้มั่นคง ท่าหนึ่งงควรยึดค้าง 20 –30 วินาที ทำชุดละ 5 – 10 ครั้ง วันละ 2 ชุดเป็นอย่างต่ำ ไม่จำกัดจำนวนชุด

ควรทำอย่างน้อย 2 สัปดาห์ ควบคู่กับการประคบร้อนไปด้วย








     2.การประคบความร้อน
การประคบสามารถใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำร้อนหรือกระเป๋าน้ำร้อนก็ได้  โดยใช้ระยะเวลาประมาณ 20 - 45 นาที ระดับไม่ควรร้อนมากจนเกินไป ให้ร้อนพอทนได้  การยืดกล้ามเนื้อร่วมกับการประคบร้อนจะช่วยให้กล้ามเนื้อคลายและโลหิตจะไหลเวียนได้สะดวกยิ่งขึ้น  ส่งผลให้ของเสียต่างนำไปกำจัดได้ดีขึ้น อาการปวดต่างๆจึงหายไป

วันเสาร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

นิ้วซ้นกับการดูแลด้วยตนเอง

นิ้วซ้น
เจ็บมาก เกิดอาการช็อคทางปลายประสาทได้ ส่วนปลายนิ้วเจ็บมากกว่า



สาเหตุ
     1. อุบัติเหตุจากการเล่นกีฬาต่าง ๆ เช่น บาสเกตบอล โรครูมาตอยต์
     2. นิ้วซ้นมักพบที่นิ้วกลางมากที่สุด และจะเป็นตรงข้อนิ้วกลางส่วนใหญ่ (เนื่องจากนิ้วยาว)

อาการ
     1. ปวดข้อนิ้วที่เป็น เขียวซ้ำ มีบวมแดง เอ็นข้อมัดขมวด
     2. กำมือ เหยียดนิ้ว ติดขัด 




การดูแลด้วยตนเอง
     1.การดึงดัดนิ้วที่เจ็บ 
ใช้นิ้วชี้และนิ้วโป้งจับยึดบริเวณที่ต่ำกว่าข้อที่เจ็บ มือข้างที่ถนัดจับเหนือข้อที่เจ็บแล้วดึงยืดข้อ หักพับลงคาไว้สักครู่ ค้าง  20 –30 วินาที ทำชุดละ 5 – 10 ครั้ง วันละ 2 ชุดเป็นอย่างต่ำ  
ควรทำอย่างน้อย 2 สัปดาห์ ควบคู่กับการประคบร้อนไปด้วย
    




     2.การประคบความเย็น 
ถ้าเขียวช้ำ 24 ชม.แรก ให้ประคบเย็น หรือใช้น้ำมะนาวผสมดินสอพอง หรือใช้ขิงแก่ตำคั่วกับแอลกอฮอล์แล้วพอก
     3.การประคบความร้อน
การประคบสามารถใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำร้อนหรือกระเป๋าน้ำร้อนก็ได้  โดยใช้ระยะเวลาประมาณ 20 - 45 นาที ระดับไม่ควรร้อนมากจนเกินไป ให้ร้อนพอทนได้  การยืดกล้ามเนื้อร่วมกับการประคบร้อนจะช่วยให้กล้ามเนื้อคลายและโลหิตจะไหลเวียนได้สะดวกยิ่งขึ้น  ส่งผลให้ของเสียต่างนำไปกำจัดได้ดีขึ้น อาการปวดต่างๆจึงหายไป
     4.พักการใช้งานนิ้วมือ

วันพฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

นิ้วล็อคกับการดูแล

นิ้วล็อค (trigger finger)



     สาเหตุ
  1. ใช้งานหนักเป็นประจำ เช่น การตำส้มตำ การกำครูดบ่อยๆ อาจโดนผึ้งต่อยที่โครนิ้ว การหิ้วของหนักเป็นประจำ เป็นอักเสบของข้อนิ้ว  โดยตรง
  2. ความเสี่ยงของร่างกายไขมีนฝ่ามือหายไป หรือฝ่อตัวลง เอ็นเกิดพังผืดเส้นเอ็นถูกพังผืดรัดเห็นเอ็นเป็นลำ ความเสื่อมมักพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย 90 เปอเซนต์ ขึ้นไป พบในผู้หญิงอายุ 50 ปีขึ้นไป มักเป็นทีละหลายๆนิ้ว
  3.ในเด็กมักเกิดจากเจริญของปลอกเอ็น และเอ้นไม่สัมพันธ์กัน

อาการ อาการแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ
     ระยะที่ 1        มีการอักเสบที่โคนข้อนิ้ว ข้อต่อจะมีอาการเหยียดฝืด ตึงมือ จากปลอกหรือข้อเคลื่อน                               เอ็นอักเสบ
     ระยะที่ 2        เอ็นเริ่มติดกำเหยียด จะมีเสียงดัง
     ระยะที่ 3        นิ้วแข็ง งอไม่เข้า เหยียดไม่ตรง ฝ่ามือแห้ง เอ็นลอยขึ้นเห็นเป็นลำ เป็นที่ละหลายนิ้ว

*** ถ้าเป็นที่นิ้วหัวแม่มือ จับนิ้วหัวแม่มือลงไม่ได้ ไม่มีแรง คล้ายเอ็นโคนมืออักเสบ คือ นิ้วจะไม่มีแรง บีบนิ้วไม่ค่อยได้

การดูแลด้วยตนเอง

     1.การยึดกล้ามเนื้อ
การยืดกล้ามเนื้อควรทำอย่างช้าๆ ให้รู้สึกตึง เจ็บเล็กน้อยไม่มากเกินไป ให้อยู่ในภาวะผ่อนคลายและจัดท่าทางให้มั่นคง ท่าหนึ่งงควรยึดค้าง 20 –30 วินาที ทำชุดละ 5 – 10 ครั้ง วันละ 2 ชุดเป็นอย่างต่ำ ไม่จำกัดจำนวนชุด

ควรทำอย่างน้อย 2 สัปดาห์ ควบคู่กับการประคบร้อนไปด้วย



     2.การประคบความร้อน
การประคบสามารถใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำร้อนหรือกระเป๋าน้ำร้อนก็ได้  โดยใช้ระยะเวลาประมาณ 20 - 45 นาที ระดับไม่ควรร้อนมากจนเกินไป ให้ร้อนพอทนได้  การยืดกล้ามเนื้อร่วมกับการประคบร้อนจะช่วยให้กล้ามเนื้อคลายและโลหิตจะไหลเวียนได้สะดวกยิ่งขึ้น  ส่งผลให้ของเสียต่างนำไปกำจัดได้ดีขึ้น อาการปวดต่างๆจึงหายไป

อัมพาทใบหน้ากับการดูแล

อัมพาทใบหน้า (Bell's palsy)




สาเหตุทางแพทย์แผนไทย เกิดจากลม 5 ชนิด คือ
      1. เกิดจากลมปลายปัตคาต ทำให้ยักคิ้วไม่ได้ ตาหลับไม่ลง ยิ้มปากเบี้ยว
      2. เกิดจากลมสันนิบาต มีการกระตุกตามหน้า ตาและปากร่วมด้วย
      3. เกิดจากลมชิวหาสดมภ์ เกิดอาการทางปาก มีปากเบี้ยว น้ำลายยืดเหนียว มองไม่ชัด ยักคิ้วไม่ขึ้น ตาหลับไม่ลง และมีการกระตุกร่วมด้วย เรียกว่า ลมแทรกชิวหาสดมภ์
      4. เกิดจากลม 2 กอง ระคนกัน มาจากโรคอัมพาตครึ่งซีก ลม 2 กอง คือ
          - ลมเบื้องสูง (อโธคมาวาตา) เป็นลมกองใหญ่
          - ลมเบื้องต่ำ (อุทธังคมาวาตา) เป็นลมกองใหญ่
      5. เกิดจากลมตะกัง เนื่องจากความเครียด

สาเหตุทางแพทย์แผนปัจจุบัน ไม่ทราบสาเหตุแต่มีปัจจัยเสริม ดังนี้
      1. เกิดจากติดเชื้อไวรัส
      2. อุบัติเหตุตรงหน้าหู เช่น ถูกตบโดนเส้นประสาทโดยตรง หรือจากอุบัติเหตุอื่นๆ
      3. เป็นหูน้ำหนวก หรือมีอาการอักเสบของรากฟันหรือเหงือก เป็นหวัดบ่อยๆ
      4. โรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน พบว่าประมาณ 30 เปอเซนต์ มีอาการของอัมพาตใบหน้าร่วมด้วย
      5. เนื้องอกในสมองบริเวณรากประสาทสมองคู่ที่ 7 หรือผ่าตัดในบริเวณใกล้เคียงกับประสาทคู่นี้
      6. ร่างกายอ่อนเพลีย แล้วกระทบอากาศเย็น

***  โรคนี้เป็นโรคที่นวดรักษาได้ผลดี พบได้ทุกเพศทุกวัย มักเกิดกับอายุ 20 - 50 ปี ***

อาการทั่วไป
     เคลื่อนไหวกล้ามเนื้อใบหน้าครึ่งซีกไม่ได้ ผู้ป่วยรู้สึกตัวดีแขนขามีแรงดี และทำงานได้ตามปกติทุกอย่าง และถ้าอยู่เฉยๆ โดยไม่พูดไม่ยิ้มไม่หลับตาหรือยักคิ้ว จะไม่พบความผิดปกติ
     โรคนี้เป็นลักษณะของกล้ามเนื้อบนใบหน้า (กล้ามเนื้อลาย) เคลื่อนไหวไม่ได้ หรือเคลื่อนไหวไม่ได้ตามปกติ เนื่องจากเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 ที่ทำหน้าที่แสดงสีหน้า เลิกหน้าผากยักคิ้ว ขมวดคิ้ว หลับตา ผิวปาก ถ้าเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 นี้ผิดปกติ การทำงานทุกอย่างก็ผิดไป โรคนี้มีปัญหาที่ใบหน้าอาจเป็นข้างเดียวหรือ 2 ข้างก็ได้ ส่วนมากพบข้างเดียว


การดูแลตนเอง

    1. ใช้ผ้าชุบน้ำร้อนประคบ เพื่อเป็นการกระตุ้นระบบประสาทและให้โลหิตไหลเวียนสะดวกนำสารอาหารมาซ่อมแซมได้มากยิ่งขึ้น ประคบเช้า - เย็น ประมาณ 20 นาที
    2. ใส่แว่นตาดำ กลางวัน  ตอนกลางคืนให้ที่ปิดตานอน
    3. ดื่มน้ำอุ่น และพักผ่อนให้เพียงพอ
    4. เลี่ยงอาหารที่ต้องเคี้ยวนานๆ เพราะจะทำให้กล้ามเนื้อเมื่อยล้า
    5.หลีกเลี่ยงอากาศเย็น ลมเย็นจะทำให้ตาหลับไม่ลง
    6.การบริหารใบหน้า
      ให้ผู้ป่วยออกกำลังหน้ากระจกเพื่อคอยดูการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อใบหน้า เริ่มแรกให้ใช้มือข้างเดียวกับใบหน้าที่มีอาการค่อยช่วยก่อน ถ้าเริ่มเห็นการเคลื่อนไหวมากขึ้นค่อยๆลดการช่วยลง ทำครั้งละ ๑๐ ที ทำซ้ำ ๓ รอบ วันละ ๓ ช่วงเวลา


วันอังคารที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ตะคริวกับการดูแล

ตะคริว



     สาเหตุ
        - ร่างกายขาดน้ำ เกลือแร่ แคลเซียม พบในนักกีฬา หรือท้องเสีย
        - เกิดจากระบบไหลเวียนเลือดไม่ดี เช่น อากาศเย็น ถูกแอร์ หรือพัดลมเป่าเป็นเวลานานๆหรือรัดน่องไว้นาน
        - คนที่กล้ามเนื้อไม่แข็งแรง แล้วใช้งานหนักกระทันหัน
        - นั่งหรือยืนในท่าที่เลือดไหลเวียนไม่สะดวกนานๆ หรือนอนยกเท้าสูงและถูกความเย็น และใส่รองเท้าส้นสูง
        - ในคนชรานอนนานไม่มีการเคลื่อนไหว พันผ้ารัดเข่าหรือขาแน่นและนานเกินไป
        - ภาวะเครียดจากระบบสมอง มีอาการเวลาเคลิ้มๆ จะกระตุก
        - คนสูงอายุ ผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูงมีโอกาสเป็นตะคริวบ่อย
      อาการ
           ปวดกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อแข็งเป็นก้อน ปลายเท้าชี้ลง ขยับขาไม่ได้กระดกขาขึ้นเองไม่ได้ ถ้าเป็นบ่อย ตะคริวหายแล้วอาการปวดก็ยังอยู่


การดูแลด้วยตนเอง
     1. งดอาหารแสดงที่ขับปัสสาวะและทำให้เลือดไหลเวียนไม่ดี

     2.การยึดกล้ามเนื้อ
การยืดกล้ามเนื้อควรทำอย่างช้าๆ ให้รู้สึกตึง เจ็บเล็กน้อยไม่มากเกินไป ให้อยู่ในภาวะผ่อนคลายและจัดท่าทางให้มั่นคง ท่าหนึ่งงควรยึดค้าง 20 –30 วินาที ทำชุดละ 5 – 10 ครั้ง วันละ 2 ชุดเป็นอย่างต่ำ ไม่จำกัดจำนวนชุด

ควรทำอย่างน้อย 2 สัปดาห์ ควบคู่กับการประคบร้อนไปด้วย







     3.การประคบความร้อน
การประคบสามารถใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำร้อนหรือกระเป๋าน้ำร้อนก็ได้  โดยใช้ระยะเวลาประมาณ 20 - 45 นาที ระดับไม่ควรร้อนมากจนเกินไป ให้ร้อนพอทนได้  การยืดกล้ามเนื้อร่วมกับการประคบร้อนจะช่วยให้กล้ามเนื้อคลายและโลหิตจะไหลเวียนได้สะดวกยิ่งขึ้น  ส่งผลให้ของเสียต่างนำไปกำจัดได้ดีขึ้น อาการปวดต่างๆจึงหายไป

ปวดข้อศอกกับการดูแล

ปวดข้อศอก (tennis elbow)

เป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับเอ็น เยื่อหุ้มกระดูก ผังผืด กล้ามเนื้อบริเวณข้อศอกหรือจากข้อศอกลงมาเล็กน้อย เป็นได้ทุกเพศทุกวัย

สาเหตุ
     - จากการเบ่นกีฬา เช่น นักกีฬาเทนนิส แบดมินตัน
     - จากอาชีพ เช่น แม่ค้าส้มตำ แม่ครัว คนทำสวน แม่บ้าน ช่างเย็บเสื้อผ้า คนขับรถ
     - ความเสื่อมของร่างกาย มีหินปูนเกาะ
     - ใช้งานนานหรือหนักเกินไป เช่น หิ้วของ
     - อุบัติเหตุ
อาการ
     ปวดบวมอักเสบที่ข้อศอก โดยเฉพาะตอนคว่ำมือและหงายมือ ปวดร้าวไปตามด้านหลังของแขนท่อนปลาบจนลงไปข้อมือ และนิ้วมือ อาจทำให้ปวดศีรษะข้างเดียวกับที่มีอาการ
     มีอาการเจ็บปวดอ่อนแรง เมื่อมีการกำมืออย่างแรง และทำให้อาการนิ้วมือแข็งบางครั้ง มีอาการชามือและปลายท่อนแขน





 การดูแลด้วยตนเอง
     1.การยึดกล้ามเนื้อ
การยืดกล้ามเนื้อควรทำอย่างช้าๆ ให้รู้สึกตึง เจ็บเล็กน้อยไม่มากเกินไป ให้อยู่ในภาวะผ่อนคลายและจัดท่าทางให้มั่นคง ท่าหนึ่งงควรยึดค้าง 20 –30 วินาที ทำชุดละ 5 – 10 ครั้ง วันละ 2 ชุดเป็นอย่างต่ำ ไม่จำกัดจำนวนชุด

ควรทำอย่างน้อย 2 สัปดาห์ ควบคู่กับการประคบร้อนไปด้วย




     2.การประคบความร้อน
การประคบสามารถใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำร้อนหรือกระเป๋าน้ำร้อนก็ได้  โดยใช้ระยะเวลาประมาณ 20 - 45 นาที ระดับไม่ควรร้อนมากจนเกินไป ให้ร้อนพอทนได้  การยืดกล้ามเนื้อร่วมกับการประคบร้อนจะช่วยให้กล้ามเนื้อคลายและโลหิตจะไหลเวียนได้สะดวกยิ่งขึ้น  ส่งผลให้ของเสียต่างนำไปกำจัดได้ดีขึ้น อาการปวดต่างๆจึงหายไป

วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

คอตกหมอน!!!!... หันคอไม่ได้ทำยังไงดี?

คอเคล็ดหรือ คอตกหมอน (Neck Strain)



อาการคอเคล็ดไม่ใช้โรคที่ร้ายแรงนัก
     ลักษณะทางกายวิภาคของกระดูกคอมีความซับซ้อนเพื่อป้องกันและเป็นที่อยู่ของไขสันหลัง ทั้งยังช่วยพยุงศีรษะซึ่งสามารถเคลื่อนไหวได้หลากหลายทิศทาง

     สาเหตุที่ทำให้เกิดคอเคล็ดมีหลากหลายปัจจัยดังนี้
         - คออยู่ในอิริยาบถที่ไม่ถูกต้องเป็นเวลานาน เช่น ยื่นหน้าไปข้างมากเกินไปเวลาขับรถหรือมอง                จอคอมพิวเตอร์ ใช้คอหนีบโทรศัพท์คุยเป็นเวลานาน
         - นอนผิดท่าเป็นเวลานาน หมอนมีความสูงเกิน หรือแข็งหรือนุ่มเกินไป
         - ถือหรือสพายของหนักจนเกินไป
         - อุบัติเหตุ

     ส่วนใหญ่คอเคล็ดมักพัฒนามาจากอาการกล้ามเนื้อต้นคอตึงหรืออาการเจ็บบริเวณไหล่ ส่งผลให้การเคลื่อนไหวและการหมุนของต้นคอและศีรษะเป็นไปอย่างยากลำบาก

การดูแลด้วยตนเอง

1.การปรับพฤติกรรม
   หลีกเลี่ยงการทำงานในท่าทางเดิมเป็นเวลานานควรขยับยึดเส้นยึดสายทุก 1 - 2 ชม. ปรับองศาการนั่งและยืนให้ถูกต้องดังรูป






2.ประคบความเย็น
  ความเย็นจะช่วยลดการอักเสบเพื่อให้ร่างกายสามารถฟื้นฟูตัวเองได้ไวยิ่งขึ้น การประคบความเย็นนั้นควรประคบภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากมีอาการบาดเจ็บที่กล้ามเนื้อโดยประคบเป็นเวลา 20 นาที

3.ประคบด้วยความร้อน
 ความร้อนจะช่วยให้เลือดไหลเวียนดียื่งขึ้น ส่งผลให้เลือดสามารถนำสารอาหารมาซ่อมแซมได้ดียิ่งขึ้น ประคบด้วยความร้อนชื้นจะดีที่สุด อย่างการแช่น้ำร้อน การใช้ลูกประคบหรือผ้าขนหนูชุบน้ำร้อนประคบ

2.การยึดกล้ามเนื้อ
   การยืดกล้ามเนื้อควรทำอย่างช้าๆ ให้รู้สึกตึง เจ็บเล็กน้อยไม่มากเกินไป ให้อยู่ในภาวะผ่อนคลายและจัดท่าทางให้มั่นคง ท่าหนึ่งงควรยึดค้าง 20 –30 วินาที ทำชุดละ 5 – 10 ครั้ง วันละ 2 ชุดเป็นอย่างต่ำ ไม่จำกัดจำนวนชุด