วันพฤหัสบดีที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

นิ้วล็อคกับการดูแล

นิ้วล็อค (trigger finger)



     สาเหตุ
  1. ใช้งานหนักเป็นประจำ เช่น การตำส้มตำ การกำครูดบ่อยๆ อาจโดนผึ้งต่อยที่โครนิ้ว การหิ้วของหนักเป็นประจำ เป็นอักเสบของข้อนิ้ว  โดยตรง
  2. ความเสี่ยงของร่างกายไขมีนฝ่ามือหายไป หรือฝ่อตัวลง เอ็นเกิดพังผืดเส้นเอ็นถูกพังผืดรัดเห็นเอ็นเป็นลำ ความเสื่อมมักพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย 90 เปอเซนต์ ขึ้นไป พบในผู้หญิงอายุ 50 ปีขึ้นไป มักเป็นทีละหลายๆนิ้ว
  3.ในเด็กมักเกิดจากเจริญของปลอกเอ็น และเอ้นไม่สัมพันธ์กัน

อาการ อาการแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ
     ระยะที่ 1        มีการอักเสบที่โคนข้อนิ้ว ข้อต่อจะมีอาการเหยียดฝืด ตึงมือ จากปลอกหรือข้อเคลื่อน                               เอ็นอักเสบ
     ระยะที่ 2        เอ็นเริ่มติดกำเหยียด จะมีเสียงดัง
     ระยะที่ 3        นิ้วแข็ง งอไม่เข้า เหยียดไม่ตรง ฝ่ามือแห้ง เอ็นลอยขึ้นเห็นเป็นลำ เป็นที่ละหลายนิ้ว

*** ถ้าเป็นที่นิ้วหัวแม่มือ จับนิ้วหัวแม่มือลงไม่ได้ ไม่มีแรง คล้ายเอ็นโคนมืออักเสบ คือ นิ้วจะไม่มีแรง บีบนิ้วไม่ค่อยได้

การดูแลด้วยตนเอง

     1.การยึดกล้ามเนื้อ
การยืดกล้ามเนื้อควรทำอย่างช้าๆ ให้รู้สึกตึง เจ็บเล็กน้อยไม่มากเกินไป ให้อยู่ในภาวะผ่อนคลายและจัดท่าทางให้มั่นคง ท่าหนึ่งงควรยึดค้าง 20 –30 วินาที ทำชุดละ 5 – 10 ครั้ง วันละ 2 ชุดเป็นอย่างต่ำ ไม่จำกัดจำนวนชุด

ควรทำอย่างน้อย 2 สัปดาห์ ควบคู่กับการประคบร้อนไปด้วย



     2.การประคบความร้อน
การประคบสามารถใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำร้อนหรือกระเป๋าน้ำร้อนก็ได้  โดยใช้ระยะเวลาประมาณ 20 - 45 นาที ระดับไม่ควรร้อนมากจนเกินไป ให้ร้อนพอทนได้  การยืดกล้ามเนื้อร่วมกับการประคบร้อนจะช่วยให้กล้ามเนื้อคลายและโลหิตจะไหลเวียนได้สะดวกยิ่งขึ้น  ส่งผลให้ของเสียต่างนำไปกำจัดได้ดีขึ้น อาการปวดต่างๆจึงหายไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น