วันพฤหัสบดีที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ไหล่ติดดูแลด้วยตนเองง่ายๆ

ไหล่ติด หรือ frozen shoulder


          มีอาการตึงตามกล้ามเนื้อรอบๆหัวไหล่ เจ็บ ยกแขนองศายกไม่ได้เต็มที่หรือยกได้เต็มที่แต่มีอาการเจ็บในหัวไหล่
     สาเหตุอาจเกิดจากการบาดเจ็บ หรือการใช้งานหนักเกินกำลัง
โรคเรื้อรังอย่างเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมอง ต่อมธัยรอยด์เป็นพิษ โรคหัวใจ มีโอกาสเป็นมากกว่าคนทั่วไป
     เนื้อเยื่อรอบข้อต่อหัวไหล่มีอาการแข็งตึง มีพังพืด และหัวไหล่เคลื่อนไหล่ลำบากและเจ็บมาก
โดยส่วนใหญ่จะมีอาการเพิ่มขึ้นมากเรื่อยอาจใช้เวลาเป็นปีหรือมากกว่า

     หัวไหล่จะติดเมื่อเราหยุดการใช้งานหัวไหล่เป็นเวลานาน อันเนื่องมาจากอาการเจ็บของหัวไหล่หรือการไม่เคลื่อนไหวเป็นเวลานานจากโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน

สาเหตุหลักที่ทำให้เป็นโรคไหล่ติด
- บาดเจ็บจากอุบัติเหตุ เคลื่อนไหวผิดองศาหรือเกิดหลังผ่าตัด
- พบมากในช่วงอายุ 40 ถึง 70 ปี
- พบบ่อยในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย (โดยเฉพาะผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน)
- พบบ่อยในผู้ป่วยเรื้อรัง

       การดูแลรักษาอาการข้อไหล่ติด  ผู้ป่วยต้องพยายามคงการเคลื่อนไหวโดยการเคลื่อนไหวข้อไหล่เหมือนตุ้มนาฬิกา เมื่อมีอาการติดการทำกายภาพบำบัดด้วยการใช้อุปกรณ์ความร้อนต่างๆ การดัดข้อไหล่โดยนักกายภาพบำบัดหรือแพทย์แผนไทยจะช่วยทำให้อาการเป็นปกติเร็วขึ้น อย่างไรก็ตามผู้ป่วยควรต้องช่วยตนเองด้วยการยืดดัดข้อไหล่ทุกวัน วันละ 3-4 ครั้ง ก่อนการดัดข้อไหล่ควรประคบด้วยแผ่นความร้อน


     การดูแลด้วยตนเอง
     1.การยึดกล้ามเนื้อ
การยืดกล้ามเนื้อควรทำอย่างช้าๆ ให้รู้สึกตึง เจ็บเล็กน้อยไม่มากเกินไป ให้อยู่ในภาวะผ่อนคลายและจัดท่าทางให้มั่นคง ท่าหนึ่งงควรยึดค้าง 20 –30 วินาที ทำชุดละ 5 – 10 ครั้ง วันละ 2 ชุดเป็นอย่างต่ำ ไม่จำกัดจำนวนชุด

ควรทำอย่างน้อย 2 สัปดาห์ ควบคู่กับการประคบร้อนไปด้วย






     2.การประคบความร้อน
การประคบสามารถใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำร้อนหรือกระเป๋าน้ำร้อนก็ได้  โดยใช้ระยะเวลาประมาณ 20 - 45 นาที ระดับไม่ควรร้อนมากจนเกินไป ให้ร้อนพอทนได้  การยืดกล้ามเนื้อร่วมกับการประคบร้อนจะช่วยให้กล้ามเนื้อคลายและโลหิตจะไหลเวียนได้สะดวกยิ่งขึ้น  ส่งผลให้ของเสียต่างนำไปกำจัดได้ดีขึ้น อาการปวดต่างๆจึงหายไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น