สาเหตุของไมเกรนยังไม่เป็นที่แน่ชัด แต่ในทางทฤษฎีไมเกรนเกิดจากการที่เลือดขึ้นไปเลี้ยงสมองด้วยความดันสูง อันเนื่องมากจากกล้ามเนื้อต้นคอ บ่า ไหล่ สบักและขมับเกิดการเกร็งตัว ส่งผลให้หลอดเลือดมีขนาดเล็กลงจึงทำให้ความดันในหลอดเลือดสูงขึ้น
บวกกับปัจจัยภายนอกที่ส่งผลให้เลือดไปเลี้ยงที่ศีรษะมากขึ้น เช่น การใช้สายตามากหรือได้จับแสงจ้า ได้กลิ่นที่กระตุ้น นอนหลับน้อย เครียด เป็นต้น ไมเกรนสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ และสามารถตัวสอบด้วยตนเองได้ดังนี้
- เคยเป็นมาอย่างน้อย 5 ช่วงเวลา
- ภายในเวลาระหว่าง 4 - 72 ชั่วโมง
- มีอย่างน้อย 2 อาการตามดังนี้
: ปวดข้างเดียว, ปวดตุบ, ปวดปานกลางจนถึงรุนแรง, การปวดเป็นอุปสรรคต่อชีวิตประจำวัน
มีอาการร่วมอย่างน้อยหนึ่งอย่างดังนี้
: คลื่นไส้หรืออาเจียน, ความรู้สึกไวต่อแสง, ความรู้สึกไวต่อเสียง, ความรู้สึกไวต่อกลิ่น
ไมเกรนบางครั้งอาจมีอาการบอกเหตุก่อน เช่น มองเห็นแสงวิบวับ หรือภาพบิดเบี้ยว หรือ ชามือ ชานิ้ว
การดูแลตนเองกับปวดศีรษะไมเกรน
1.การควบคุมปัจจัยชักนำ
- หลีกเลี่ยงอาหารที่กระตุ้นการชักนำ เช่น แอลกอฮอร์ ผงชูรส ชา กาแฟ
- การนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
- ความเครียด เมื่อเครียดควรผ่อนคลาย เช่น พักผ่อนในที่ผ่อนคลายตามสวนสาธารณะมองสีเขียวของใบไม้ ทำกิจกรรมที่ผ่อนคลาย นั่งสมาธิ เป็นต้น
- ปัจจัยสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิความร้อนเย็น แสงจ้า ไฟกระพริบ กลิ่นที่ฉุนเฉียว หลีกเลี่ยงเสียงดังรบกวน
2.การจัดการความเครียด
3.การกายภาพด้วยตนเอง
1.การยึดกล้ามเนื้อ
การยืดกล้ามเนื้อควรทำอย่างช้าๆ ให้รู้สึกตึง เจ็บเล็กน้อยไม่มากเกินไป ให้อยู่ในภาวะผ่อนคลายและจัดท่าทางให้มั่นคง ท่าหนึ่งงควรยึดค้าง 20 –30 วินาที ทำชุดละ 5 – 10 ครั้ง วันละ 2 ชุดเป็นอย่างต่ำ ไม่จำกัดจำนวนชุด
ควรทำอย่างน้อย 2 สัปดาห์ ควบคู่กับการประคบร้อนไปด้วย
2.การประคบร้อน
การประคบสามารถใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำร้อนหรือกระเป๋าน้ำร้อนก็ได้ โดยใช้ระยะเวลาประมาณ 20 - 45 นาที ระดับไม่ควรร้อนมากจนเกินไป ให้ร้อนพอทนได้ การยืดกล้ามเนื้อร่วมกับการประคบร้อนจะช่วยให้กล้ามเนื้อคลายและโลหิตจะไหลเวียนได้สะดวกยิ่งขึ้น ส่งผลให้ของเสียต่างนำไปกำจัดได้ดีขึ้น อาการปวดต่างๆจึงหายไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น